วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เตือนภัยไวรัสตัวใหม่


เตือนภัยไวรัสตัวใหม่

          ภายใน 2 - 3 วันนี้ท่านอาจได้รับ mail ที่มีไวรัสแฝงมาหรือไม่นั้น ห้ามเปิด mail และ file แนบ (attachment) ที่มีชื่อเรื่องว่า "postcard from hallmark" ไม่ว่า mail นั้นจะส่งมาจาก ใครก็ตาม มันเป็น mail ที่มีไวรัสที่จะทำลาย drive c ทั้งหมดของคุณ โดยการเปิด file ที่เป็น postcard image ไวรัสนี้จะได้รับจากใครบางคนที่มี e-mail address ของคุณใน contact list ดังนั้นคุณควรเตือน คนที่คุณเคยติดต่อทาง e-mail
          หากคุณได้รับ mail ชื่อ " postcard " แม้ว่าจะส่งมาจากเพื่อนของคุณห้ามเปิด mail และ file แนบนั้น ให้ shut down computer ของคุณทันที ไวรัสนี้เป็นไวรัสที่เลวร้ายที่สุดที่ ประกาศเตือนโดย cnn มันถูกจัดอยู่ในกลุ่มตัวทำลายล้างสุดแสบตลอดกาล โดย microsoft มันถูกค้นพบโดย mcafee เมื่อวานนี้ และยังไม่มี วิธีแก้ไขมันจะทำลาย zero sector ของ hard disc ซึ่งเป็นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญสุดยอดของ hard disc
 ช่วยบอกต่อ ๆ ให้เพื่อนของคุณรับทราบ มันจะเป็นประโยชน์ มากเลยค่ะ
 สำหรับพวกเราทุกคนไวรัส "snopes"  มีชื่อทุกคนที่มันสามารถบุกรุกได้!!   

มีไวรัสชนิดใหม่แพร่กระจายทางทวิตเตอร์


มีไวรัสชนิดใหม่ผุดขึ้นมาซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ 
โดยการแพร่กระจายผ่านทาง URL สั้นๆของบริการ goo.gl

โดยไวรัสนี้ปรากฎตัวขึ้นเมื่อคืนวาน โดยการแพร่กระจายผ่านทางผู้ใช้ทวิตเตอร์ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ทำการคลิกลิ้งค์ที่เริ่มต้นด้วย http://goo.gl ซึ่งเป็น URL อย่างสั้นของกูเกิ้ล ติดเชื้อดังกล่าว โดย TechCrunch ได้กล่าวว่า ไวรัสนี้เริ่มต้นในเวบไซต์ทวิตเตอร์บนโมบาย และมีการเติบโตผ่านทาง URL แตกต่างกัน เช่น http://goo.gl/od0az และ http://goo.gl/R7f68 เป็นต้น โดยไวรัสพยายามที่จะเปลี่ยนเส้นทางให้ผู้ใช้ที่ไม่ทันระวังเข้าไปยังเวบไซต์ที่เป็นอันตราย ซึ่งกล่าวได้ว่า ข้อความเหล่านี้มักมาจากชื่อบัญชีใหม่ ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นชื่อบัญชีแบบใช้ครั้งเดียว โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ควรจะทำการทวิตคำเตือนไปยังผู้อื่น เพื่อให้คอยหลีกเลี่ยงการคลิกลิ้งค์ที่อาจจะเชื่อมโยงไปยังที่ที่เป็นแหล่งแพร่กระจายไวรัสที่น่ารังเกียจนี้ได้ และผู้ใช้ทวิตเตอร์ผ่านโมบายยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็น URL ใดที่มีลักษณะสั้นดูน่าสงสัย ไม่ควรทำการคลิกที่ลิ้งค์นั้นๆ โดยลิ้งค์แบบสั้นนี้ ได้สร้างปัญหาในทวิตเตอร์และเวบไซต์อื่นๆมากมาย เนื่องจากผู้ใช้งานไม่สามารถมองเห็น URL ที่แท้จริงจนกว่าจะคลิกที่ลิ้งค์ดังกล่าว ดังนั้น พวกมิจฉาชีพจึงอาศัยจังหวะนี้มาเป็นช่องทางในการก่อความไม่สงบ โดยการเชื่อมต่อลิ้งค์ไปยังเวบโฮสที่มีมัลแวร์ เป็นต้น

>>เขียนโดย Administrator  >> ข้อมูลจาก http://www.deqp.go.th

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ

           นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการ   โดยปฏิรูประบบราชการเริ่มจากการปรับโครงสร้างหน่วยงานการบริหารระบบราชการ และมีมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยเฉพาะการพัฒนาและบริหารกำลังคนนั่นคือ ข้าราชการ   ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ  เป็นพลังผลักดันและขับเคลื่อน    การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology)  เข้ามาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน   จึงต้องมีความเข้าใจถึงรากฐานตั้งแต่นโยบาย ICT  ของประเทศ  และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาการใช้ ICT  เพื่อพัฒนาบุคลากร  ,  การใช้ ICT  เพื่อการบริหารกำลังคน  ,  การใช้  ICT  เพื่อพัฒนาการบริการ  ,  อุปสรรคการนำ ICT  มาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน  ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน   อันจะส่งผลไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชกาโดยรวม
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รัฐบาลได้มีการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ
•       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
•       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
•       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
•       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา  (e-Education)
•       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม  (e-Society)
e-Government  เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ  G to G  (Government  to  Government)   หน่วยงานภาครัฐต่อภาครัฐ  , G to B   (Government to Business)  หน่วยงานภาครัฐต่อภาคธุรกิจ  และ  G  to  C  (Government to Citizen)   หน่วยงานภาครัฐต่อภาคประชาชน โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งชาติ  PMOC  (Prime Minister Operation
Center)  ,  MOC  (Ministerial Operation Center)  ,  POC (Provincial Operation Center)  ,  DOC (Department Operation Center)
            เป้าหมายสูงสุดของรัฐก็คือ ต้องการให้ประชาชนทุกคนมี Smart Card  ที่สามารถแสดงข้อมูลของประชาชนทุกคนในประเทศได้  (สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี, 2546)    เมื่อนำกลยุทธ์ทั้ง 5 นี้มาดำเนินการ โดยประสานสัมพันธ์และเชื่อมโยงการดำเนินการของแต่ละกลุ่มด้วยการวางแผนและการปฏิบัติที่รอบคอบ บนพื้นฐานของปัจจัยสำคัญอีกสามด้านที่จะเป็นสื่อนำไปสู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ คือ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุตสาหกรรมสารสนเทศ เชื่อว่าในสิบปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีการพัฒนาไปสู่เป้าหมายข้างต้นได้อย่างเหมาะสม  ยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ได้
กำหนดยุทธศาสตร์หลักทั้ง  7  ด้าน  ได้แก่
            1. ยุทธศาสตร์ที่ 1  การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เพื่อให้เป็นผู้นำในภูมิภาค
            2. ยุทธศาสตร์ที่ 2   การใช้ ICT เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคม ไทย
            3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปฏิรูปและการสร้างศักยภาพเพื่อการวิจัยและพัฒนา ICT
            4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับศักยภาพพื้นฐานของสังคมไทยเพื่อการแข่งขันในอนาคต
            5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อมุ่งขยายตลาดต่างประเทศ
            6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ ICT
            7. ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ ICT  มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ
            เป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ  เป็นเป้าหมายที่ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐทั้งในการบริหารราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น   โดยเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ  มี  2 เป้าหมายหลักคือ
1. ระบบบริหาร (Back Office)  ประกอบด้วยงานสารบรรณ  งานพัสดุ  งานบุคลากร  งานการเงินและบัญชี  และงานงบประมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรภายในปี พ.ศ.2547
2. ระบบบริการ (Front office)   ตามลักษณะงานของหน่วยงานต่าง ๆ ให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 70   ภายในปี พ.ศ.2548   และครบทุกขั้นตอนภายในปี พ.ศ.2553
บทสรุป
             นโยบายของรัฐให้ความสำคัญในการนำ ICT  เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและการบริการ  ในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ   รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางด้านต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้มากขึ้น   การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการและการบริการของรัฐสามารถนำเอา ICT เข้ามาใช้ได้ในทุกด้าน    แม้จะยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่มากในหลาย ๆ ด้าน   แต่ระบบราชการคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำ ICT  เข้ามาช่วยในงานทุกส่วน   เพื่อความทันสมัย ความสะดวกและรวดเร็วในการพัฒนาระบบราชการจะเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก   ถ้าได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้โดยเฉพาะพัฒนาข้าราชการอันเป็นหัวใจของระบบราชการทั้งหมด

"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา

"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา

           ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนของคุณ สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า          ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
          เพื่อให้รู้เท่าทันแท็บเล็ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้จัดงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed 2012) ภายใต้หัวข้อ "ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21" ขึ้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ มก.บางเขน
          รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
          แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
          "การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
          รศ.ยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แท็บเล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดลองใช้เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้ ในค่ายนี้แท็บเล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือ หรือที่เก็บสื่อ แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น "ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม" ซึ่งพบว่าสามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำได้นานๆ
          คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
          "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
          เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป
            หวังใจว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง ท่านผู้บริหาร คุณครู กรรมการโรงเรียน เด็กๆและผู้ที่สนใจ จะได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา ในเบื้องต้นได้พอสมควร  สรุปสั้นๆคือ"แท็บเล็ต" (Teblet)  เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เด็กๆ  แท็บเล็ต" (Teblet)  ไม่ได้มาสอนเด็กๆแทนครู  ครูยังเป็นคนสำคัญที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้และทำการเรียนการสอน ให้แก่เด็กๆ

@@ข้อมูลจาก http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028